วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 1 การสร้างบล็อก

ความหมายของบล็อก (Blog)


บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) คือ เว็บไซต์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ เป็นเหมือนบันทึกออนไลน์ มีส่วนของการ comments แสดงข้อคิดเห็นของผู้เข้าชมบล็อก และก็จะมี link ไปยังเว็บไซต์ หรือบล็อกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย

บล็อกซอฟต์แวร์หรือบล็อกแวร์


คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้ดูแลบล็อกจะแยกจาก ผู้สร้างบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้สร้างบล็อกมีเวลาในการปรับปรุงบล็อกได้มากกว่า
โดยซอฟต์แวร์จะมีทั้งแบบมีลิขสิทธิ์ผู้สร้างบล็อกต้องเสียค่าดาวน์โหลดซอฟต์แวร์มาติดตั้งเพื่อสร้างบล็อก หรืออาจจะแจกฟรี และซอฟต์แวร์แบบไม่สงวนลิขสิทธิ์ที่เรียกว่าโอเพนซอร์ส ผู้ต้องการสร้างบล็อกสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์นั้นมาติดตั้งได้ฟรี
รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1. ดรูปาล ( Drupal )
2. เวิร์ดเพรสส์ ( WordPress )
3. ไลฟ์ไทป์ ( Life Type )
4. จุมล่า ( Joomla )
5. แมมโบ้ ( Mambo )
รายชื่อผู้ให้บริการบล็อก ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1. บล็อกเกอร์ ( Blogger )
2. ไทป์แพด ( Typepad )
3. เวิร์ดเพรสส์ ( WordPress )
4. ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ ( Yahoo 360 )
5. วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (Windows Live Spaces)
6. มายสเปซ ( My Spaces )
7. มัลติพลาย ( Muliply )
8. บล็อกวัน ( Blognone )
9. เอกซ์ทีน ( Exteen )
10. โกทูโนว์ ( GotoKnow )
11. เลิร์นเนอร์ ( learners )
12. บล็อกแก๊ง ( BlogGang )
13. โอเคเนชั่น ( OKnation )
14. สนุกดอทคอม (Sanook )
15. กระปุกดอทคอม ( Kapook )


ความหมายของเว็บไซต์ (Website)


เว็บไซต์ (Website) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่างๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ โดยเว็บไซต์ต้องมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆ ไว้แล้ว เช่น http://www.google.com, http://www.mkp.ac.th เป็นต้น โดยเว็บไซต์แบ่งตามลักษณะการใช้งานและการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้เป็น 2 ชนิด คือ
Static Website คือ เว็บไซต์ที่ตอบสนองทางเดียว ไม่มีการติดต่อกับฐานข้อมูล และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบทางเดียว เหมือนกับการอ่านหนังสือ และเนื่องจาก Static Website มีการนำเสนอข้อมูลแบบตายตัวนี้เอง จึงไม่เป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นเว็บไซต์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถบริหารข้อมูลได้สะดวก จึงทำให้เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และปิดตัวเองไป หรือพัฒนาใหม่ในรูปแบบ Dynamic Website
Dynamic Website คือ เว็บไซต์ที่สามารถตอบสนองระหว่างผู้ใช้กับเว็บไซต์ได้ มีการติดต่อและเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์จะพัฒนา ด้วย Web Programming (ASP, PHP, ASP.net, อื่นๆ) อาจกล่าวได้ว่า Dynamic Website เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบจัดการข้อมูล สำหรับให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลได้โดยง่ายผ่านทาง Login ในหน้าเว็บไซต์ โดยผู้ใช้จะได้รับ Username และ Password ส่วนตัวสำหรับเข้าไปแก้ไขข้อมูล ในฐานะ Administrator รูปแบบของเว็บไซต์ประเภทนี้ มีตั้งแต่รูปแบบของ ร้านค้าออนไลน์ (E-Commerce), เว็บข่าว หรือแม้แต่ Corporate Website ที่เน้นการสร้างความน่าเชื่อถือ และให้ข้อมูลที่รวดเร็วแก่ลูกค้า เช่น ราคา โปรโมชั่นต่างๆ
เว็บเพจ (Webpage) คือ หน้าแต่ละหน้าที่บรรจุรวมเป็น เว็บไซต์นั้น ๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีเว็บเพจได้หลายเว็บเพจนั่นเอง โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพ และรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ไปยังเว็บเพจได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ
เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น
โฮมเพจ (Homepage) คือ เว็บเพจแรกที่เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์นั้น ๆ จะมีเว็บเพจเดียวแต่จะบรรจุลิ้งเพื่อเข้าถึงเว็บเพจต่าง ๆ ที่บรรจุในเว็บไซต์นั้น
จากความหมายของเว็บไซต์ เว็บเพจ และโฮมเพจ ข้างต้นสามารถนำมาเปรียบกับ หนังสือได้ว่า เว็บไซต์คือหนังสือหนึ่งเล่มที่ โฮมเพจเป็นเสมือนสารบัญหนังสือ ที่สามารถเชื่อมเส้นทางไปยังหน้าต่างๆ ของหนังสือได้ และ เว็บเพจ ก็คือหน้าทุก ๆ หน้าของหนังสือเล่มนั้น



ความเป็นมาของ Blog


ใน ปี 1997 Mr.Jorn Barger เจ้าของเว็บ robotwisdow.com ซึ่งเป็น Blog รุ่นแรกๆ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นคำว่า weblog ขึ้น จากนั้นก็เริ่มมี weblog ก็เกิดขึ้นตามมาเรื่อยๆ
ในปี 1999 โดย mr.Peter Merhole เจ้าของเว็บ peterme.com ได้ประกาศว่าจะอ่าน Weblog ว่า “วี-บล็อก” หรือเรียกสั้นๆ ว่า Blog
ต่อมาเริ่มมีเว็บไซต์ที่ให้บริการช่วยสร้าง Blog ให้กับผู้ใช้แบบฟรีๆ นั่นคือ Blogger.com กับ Pitas.com โดยการสมัครเป็นสมาชิกพร้อมกับให้ใช้เครื่องมือในการสร้าง Blog ของตนเองผ่านทางเว็บเบราวเซอร์ เช่น IE , Firefox เป็นต้น ทำให้มีผู้ใช้สร้าง Blog ของตนเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ความแตกต่างระหว่าง Blog และ Website


Blog แตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่าและมีความหลากหลาย มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนป้ายประกาศออนไลน์ โดยการสร้างบล็อกไม่ต้องมีภาระค่าจดทะเบียนเว็บไซต์เอง สามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้พื้นที่บนเว็บไซต์ของผู้ให้บริการได้ฟรี และระบบการสร้างบล็อกนั้นง่าย สามารถอัพเดทบทความหรือปรับปรุงเนื้อหาของบล็อกได้ง่าย เป็นการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing) คือ สถาปัตยกรรมทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่แพร่กระจายจากคนหนึ่งสู่อีกหลายๆ คนผ่านระบบ Social Media จึงทำให้มีผู้สนใจสร้างบล็อกในหลาย ๆ วัตถุประสงค์และเผยแพร่สู่สาธารณะเป็นจำนวนมาก

การสมัครขอที่อยู่อีเมล์ของ GMAIL.COM





1. ในช่อง URL กรอกชื่อเว็บไซต์ของ GMAIL ลงไปดังรูปภาพที่ 1
รูปภาพที่ 1

2. คลิกเลือกปุ่ม Create An Account ดังรูปภาพที่ 2
รูปภาพที่ 2
3. จะปรากฏหน้าต่างให้กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร ดังภาพที่ 3










รูปภาพที่ 3

4. กรอกชื่อผู้ใช้ ระบุชื่อแรก และนามสกุล



รูปภาพที่ 4

5. กรอกชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้ โดยชื่อที่ใช้ต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่บัญชีสมาชิกที่มีอยู่แล้ว โดยสามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข สัญลักษณ์


รูปภาพที่ 5

6. กำหนดรหัสผ่าน โดยอย่างต่ำต้องมี 8 อักขระ สามารถใช้ตัวเลขและตัวอักษรร่วมกันได้ ซึ่งจะเพิ่มความยากในการคาดเดารหัสจากผู้ไม่หวังดีที่จะแอบเข้าอีเมล์ของผู้ใช้นี้ได้



รูปภาพที่ 6

7. คลิกเลือก เดือน กรอกวันที่ และกรอก ค.ศ. ที่ผู้สมัครเกิด



รูปภาพที่ 7
8. คลิกเลือกเพศของผู้สมัคร
Female = เพศหญิง
Mail = เพศชาย
Other = เพศอื่น ๆ



รูปภาพที่ 8

9. กรอกเบอร์โทรศัพท์ โดย +66ตามด้วยเบอร์มือถือ โดยตัดเลข 0 หน้าเบอร์มือถือออกแล้วกรอกเบอร์ที่เหลืออีก 9 ตัวต่อท้าย +66



รูปภาพที่ 9

10. กรอกที่อยู่อีเมล์ที่เคยมีแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีอีเมล์ก็ว่างไว้ไม่ต้องกรอก



รูปภาพที่ 10

11. พิมพ์ข้อความเพื่อตรวจสอบ โดยพิมพ์ข้อความที่ปรากฏในกรอบ ลงในช่องด้านล่างให้ตรงกัน







รูปภาพที่ 11

12. เลือกประเทศของผู้สมัคร โดยคลิกแล้วลากเมาส์ลากไปจนเจอประเทศไทยแล้วคลิกเลือก



รูปภาพที่ 12

13. คลิกเครื่องหมายถูกหน้าข้อตกลงทั้งสองข้อ ก่อนคลิกเลือกขั้นตอนต่อไป






รูปภาพที่ 13

14. จะปรากฏกรอบในส่วนของการจัดการข้อมูลส่วนตัวเพื่อแสดงให้กับสาธารณะเห็น โดยเลือกเข้าไปเพิ่มรูปภาพของผู้ใช้ได้







รูปภาพที่ 14

15. คลิกเลือกรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ หรือคลิกแถบเมนูด้านบนเลือก Web camera เพื่อถ่ายภาพใหม่หากเครื่องต่อกับกล้อง หรือได้ติดตั้งเว็บแคมไว้แล้วจะสามารถถ่ายภาพได้เลย








รูปภาพที่ 15

16. เมื่อผู้สมัครเลือกรูปภาพมาได้แล้วจะปรากฏดังรูปภาพที่ 16







รูปภาพที่ 16

17. เมื่อใส่ภาพใน Profile แล้วคลิกปุ่ม Next step เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป
18. ขณะนี้ผู้สมัครได้สมัครอีเมล์สำเร็จแล้วและพร้อมใช้งานได้ทันที




รูปภาพที่ 17

19. เมื่อผู้ใช้คลิกปุ่ม Continue to Gmail จะแสดงกล่องจดหมายเข้าจากทีมพัฒนา Gmail นั่นเอง






รูปภาพที่ 18

ขณะนี้ผู้สมัครมีบัญชีผู้ใช้แล้ว สามารถนำอีเมล์นี้เพื่อสมัครเป็นสมาชิกบล็อกในบทเรียนต่อไป


การสมัครบล็อก


วิธีการสมัครบล็อกเพื่อเป็นสมาชิกของแต่ละผู้ให้บริการจะคล้ายคลึงกันคือต้องมีอีเมล์ของผู้สมัครในบทที่แล้วได้สอนวิธีการสมัครอีเมล์แล้ว ในบทนี้จึงสามารถนำอีเมล์ที่สมัครมาใช้สมัครบล็อกได้เลย
ขั้นตอนการสมัคร Blogger
1. เข้าสู่เว็บไซต์โดยพิมพ์ www.blogger.com ลงในช่อง URL จากนั้นกรอก
- บัญชีอีเมล์ของ Gmail ที่สมัครไว้แล้ว
- รหัสผ่าน
จากนั้นคลิก ลงชื่อเข้าใช้งาน








รูปภาพที่ 19
2. จากนั้นจะเข้ามาสู่หน้าต่างหลักของ Blogger คลิกที่ “บล็อกใหม่” เพื่อสร้างบล็อกขึ้นมา






รูปภาพที่ 20

3. เมื่อคลิก “บล็อกใหม่” แล้ว จะมีหน้าต่างโชว์ขึ้นมาตามรูปด้านล่างนี้

รูปภาพที่ 21
- หัวข้อ ให้กรอกชื่อบล็อกของผู้สมัคร กรอกเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้
- ที่อยู่ ให้ตั้งชื่อเว็บบล็อก URL ของผู้สมัคร หากชื่อที่ตั้งสามารถใช้งานได้ จะปรากฏเครื่องหมายถูกท้ายชื่อเว็บดังรูป
- แม่แบบ สำหรับแม่แบบให้เลือก Simple
จากนั้นคลิกเลือกที่ปุ่ม “สร้างบล็อก”










รูปภาพที่ 22

4. เมื่อทำขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้ว Blogger จะปรากฏหน้าเว็บดังรูปภาพ





รูปภาพที่ 23



แบบฝึกหัดท้ายบท


ตอนที่  1.  ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย   X  เลือกข้อที่ถูกต้องที่สุด
1.  ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบล็อกและเว็บไซต์
ก.  เว็บไซต์ไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้เหมือนบล็อก
ข.  ผู้ที่สร้างบล็อกไม่ต้องจ่ายเงินจดทะเบียนโดเมน แต่เว็บไซต์ต้องจ่าย
ค.  เว็บไซต์แบบ dynamic ไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้เหมือนบล็อก
ง.  ผู้ให้บริการบล็อกไม่ต้องจ่ายเงินในการจดทะเบียนโดเมน แต่สมาชิกบล็อกต้องจ่ายแทน
2.  ข้อใดที่  ไม่เป็น รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกทั้งหมด
ก.  มัลติพลาย ,  เวิร์ดเพรสส์ ,  เอ็กซ์ทีน
ข.  กูเกิลล์ , บล็อกเกอร์ , บล็อกวัน
ค.  โอเคเนชั่น , มายเสปรซ , เลิร์นเนอร์
ง.  สนุกดอทคอม , โกทูโนว์  ,  เฟซบุ๊ค
3.  ข้อใดถูกกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นหน้าสารบัญของหนังสือ
ก.   เว็บเพจ
ข.  โฮมเพจ
ค.   เว็บไซต์
ง.   เว็บบล็อก
4.  ผู้ใดคิดค้นคำว่า Weblog ขึ้นมาครั้งแรก
ก.  Mr.Peter Merhole
ข. Sir Timothy John Berners-Lee
ค. Ms.Virginia Rometty
ง.  Mr.Jorn Barger
5.  โอเพนซอร์ส มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก.  โปรแกรมที่ใช้ได้ฟรีภายใต้เงื่อนไขบางประการ
ข.  โปรแกรมที่ราคาถูกมากให้โดยสามารถทดลองใช้งานก่อนซื้อ
ค.  โปรแกรมที่สั่งซื้อโดยสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ได้เลย
ง.  โปรแกรมที่ใช้งานได้ฟรี สามารถนำไปปรับปรุงเพื่อจำหน่ายโปรแกรมได้

ตอนที่  2.  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายถูก (P) หน้าข้อความถูก และทำเครื่องหมายผิด (Ï)
                หน้าข้อความที่ผิด
…………1)  เว็บเพจเปรียบได้กับหน้าแต่ละหน้าของหนังสือ
…………2)  โฮมเพจเปรียบได้กับหนังสือหนึ่งเล่ม
…………3)  ปี ค.ศ. 1997  เริ่มรู้จักคำว่า เว็บบล็อก (weblog)
…………4)  ปี ค.ศ. 1999  เริ่มเรียกเว็บบล็อกว่า บล็อก (blog) หรือวีบล็อก( weblog)
…………5)  โอเพนซอร์สคือชุดคำสั่งที่อนุญาตให้โหลดมาติดตั้งได้ฟรี
…………6)  เว็บไซต์เปรียบกับหน้าสารบัญของหนังสือ
…………7)  การสมัครอีเมล์ของ www.gmail.com จำเป็นต้องมีอีเมล์อื่น  ๆ ก่อนเพื่อประกอบการสมัคร
…………8)  การสมัครอีเมล์สามารถทำได้เพียงหนึ่งอีเมล์ต่อหนึ่งคนเท่านั้น
…………9)  http://www.hotmail.com เป็นบล็อก
…………10)  http://googleblog.blogspot.com/ เป็นบล็อก

บทที่ 2 การเปลี่ยนแม่แบบ(TEMPLATE)

วิธีเปลี่ยน Template ของ Blogger


เครื่องมือสำหรับ “ออกแบบแม่แบบ” ด้วยตนเอง จาก Blogger

แบบฝึกหัดท้ายบท

บทที่ 3 วิธีเขียนและจัดการบทความในบล็อก

องค์ประกอบของเครื่องมือเขียนบทความ

ตัวอย่างการเขียนบทความ

การลบบทความ

แบบฝึกหัดท้ายบท

บทที่ 4 การตั้งค่าพื้นฐานให้กับบล็อก

เมนูพื้นฐาน

เมนูโพสต์และความคิดเห็น

เมนูมือถือและอีเมล์

เมนูภาษาและการจัดรูปแบบ

เมนูค่ากำหนดของการค้นหา

เมนูอื่นๆ

แบบฝึกหัดท้ายบท

บทที่ 5 รู้จักและใช้งาน GADGET

Gadget คืออะไร|วิธีเพิ่ม Gadget

รู้จักกับ Gadget พื้นฐาน 27 อย่างของ Blogger

การจัดการกับ Gadget ในหน้าบล็อก

แบบฝึกหัดท้ายบท

บทที่ 6 รูปภาพในบทความบนบล็อก

การอัพโหลดรูปภาพขึ้นบน Picasa Web Albums

การเรียกใช้รูปภาพจาก Picasa Web Albums

แบบฝึกหัดท้ายบท

บทที่ 7 วีดีโอในบทความ

การสร้างวีดีโอใน YouTube

การนำวีดีโอใน YouTube มาใส่ในบล็อก

ข้อควรระวังในการโพสต์วีดีโอ

แบบฝึกหัดท้ายบท

ที่มา




http://www.mkp.ac.th/krunoi/