วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 1 การสร้างบล็อก

ความหมายของบล็อก (Blog)


บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) คือ เว็บไซต์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ เป็นเหมือนบันทึกออนไลน์ มีส่วนของการ comments แสดงข้อคิดเห็นของผู้เข้าชมบล็อก และก็จะมี link ไปยังเว็บไซต์ หรือบล็อกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย

บล็อกซอฟต์แวร์หรือบล็อกแวร์


คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้ดูแลบล็อกจะแยกจาก ผู้สร้างบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้สร้างบล็อกมีเวลาในการปรับปรุงบล็อกได้มากกว่า
โดยซอฟต์แวร์จะมีทั้งแบบมีลิขสิทธิ์ผู้สร้างบล็อกต้องเสียค่าดาวน์โหลดซอฟต์แวร์มาติดตั้งเพื่อสร้างบล็อก หรืออาจจะแจกฟรี และซอฟต์แวร์แบบไม่สงวนลิขสิทธิ์ที่เรียกว่าโอเพนซอร์ส ผู้ต้องการสร้างบล็อกสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์นั้นมาติดตั้งได้ฟรี
รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1. ดรูปาล ( Drupal )
2. เวิร์ดเพรสส์ ( WordPress )
3. ไลฟ์ไทป์ ( Life Type )
4. จุมล่า ( Joomla )
5. แมมโบ้ ( Mambo )
รายชื่อผู้ให้บริการบล็อก ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1. บล็อกเกอร์ ( Blogger )
2. ไทป์แพด ( Typepad )
3. เวิร์ดเพรสส์ ( WordPress )
4. ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ ( Yahoo 360 )
5. วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (Windows Live Spaces)
6. มายสเปซ ( My Spaces )
7. มัลติพลาย ( Muliply )
8. บล็อกวัน ( Blognone )
9. เอกซ์ทีน ( Exteen )
10. โกทูโนว์ ( GotoKnow )
11. เลิร์นเนอร์ ( learners )
12. บล็อกแก๊ง ( BlogGang )
13. โอเคเนชั่น ( OKnation )
14. สนุกดอทคอม (Sanook )
15. กระปุกดอทคอม ( Kapook )


ความหมายของเว็บไซต์ (Website)


เว็บไซต์ (Website) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่างๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ โดยเว็บไซต์ต้องมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆ ไว้แล้ว เช่น http://www.google.com, http://www.mkp.ac.th เป็นต้น โดยเว็บไซต์แบ่งตามลักษณะการใช้งานและการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้เป็น 2 ชนิด คือ
Static Website คือ เว็บไซต์ที่ตอบสนองทางเดียว ไม่มีการติดต่อกับฐานข้อมูล และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบทางเดียว เหมือนกับการอ่านหนังสือ และเนื่องจาก Static Website มีการนำเสนอข้อมูลแบบตายตัวนี้เอง จึงไม่เป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นเว็บไซต์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถบริหารข้อมูลได้สะดวก จึงทำให้เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และปิดตัวเองไป หรือพัฒนาใหม่ในรูปแบบ Dynamic Website
Dynamic Website คือ เว็บไซต์ที่สามารถตอบสนองระหว่างผู้ใช้กับเว็บไซต์ได้ มีการติดต่อและเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์จะพัฒนา ด้วย Web Programming (ASP, PHP, ASP.net, อื่นๆ) อาจกล่าวได้ว่า Dynamic Website เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบจัดการข้อมูล สำหรับให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลได้โดยง่ายผ่านทาง Login ในหน้าเว็บไซต์ โดยผู้ใช้จะได้รับ Username และ Password ส่วนตัวสำหรับเข้าไปแก้ไขข้อมูล ในฐานะ Administrator รูปแบบของเว็บไซต์ประเภทนี้ มีตั้งแต่รูปแบบของ ร้านค้าออนไลน์ (E-Commerce), เว็บข่าว หรือแม้แต่ Corporate Website ที่เน้นการสร้างความน่าเชื่อถือ และให้ข้อมูลที่รวดเร็วแก่ลูกค้า เช่น ราคา โปรโมชั่นต่างๆ
เว็บเพจ (Webpage) คือ หน้าแต่ละหน้าที่บรรจุรวมเป็น เว็บไซต์นั้น ๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีเว็บเพจได้หลายเว็บเพจนั่นเอง โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพ และรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ไปยังเว็บเพจได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ
เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น
โฮมเพจ (Homepage) คือ เว็บเพจแรกที่เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์นั้น ๆ จะมีเว็บเพจเดียวแต่จะบรรจุลิ้งเพื่อเข้าถึงเว็บเพจต่าง ๆ ที่บรรจุในเว็บไซต์นั้น
จากความหมายของเว็บไซต์ เว็บเพจ และโฮมเพจ ข้างต้นสามารถนำมาเปรียบกับ หนังสือได้ว่า เว็บไซต์คือหนังสือหนึ่งเล่มที่ โฮมเพจเป็นเสมือนสารบัญหนังสือ ที่สามารถเชื่อมเส้นทางไปยังหน้าต่างๆ ของหนังสือได้ และ เว็บเพจ ก็คือหน้าทุก ๆ หน้าของหนังสือเล่มนั้น



ความเป็นมาของ Blog


ใน ปี 1997 Mr.Jorn Barger เจ้าของเว็บ robotwisdow.com ซึ่งเป็น Blog รุ่นแรกๆ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นคำว่า weblog ขึ้น จากนั้นก็เริ่มมี weblog ก็เกิดขึ้นตามมาเรื่อยๆ
ในปี 1999 โดย mr.Peter Merhole เจ้าของเว็บ peterme.com ได้ประกาศว่าจะอ่าน Weblog ว่า “วี-บล็อก” หรือเรียกสั้นๆ ว่า Blog
ต่อมาเริ่มมีเว็บไซต์ที่ให้บริการช่วยสร้าง Blog ให้กับผู้ใช้แบบฟรีๆ นั่นคือ Blogger.com กับ Pitas.com โดยการสมัครเป็นสมาชิกพร้อมกับให้ใช้เครื่องมือในการสร้าง Blog ของตนเองผ่านทางเว็บเบราวเซอร์ เช่น IE , Firefox เป็นต้น ทำให้มีผู้ใช้สร้าง Blog ของตนเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ความแตกต่างระหว่าง Blog และ Website


Blog แตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่าและมีความหลากหลาย มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนป้ายประกาศออนไลน์ โดยการสร้างบล็อกไม่ต้องมีภาระค่าจดทะเบียนเว็บไซต์เอง สามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้พื้นที่บนเว็บไซต์ของผู้ให้บริการได้ฟรี และระบบการสร้างบล็อกนั้นง่าย สามารถอัพเดทบทความหรือปรับปรุงเนื้อหาของบล็อกได้ง่าย เป็นการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing) คือ สถาปัตยกรรมทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่แพร่กระจายจากคนหนึ่งสู่อีกหลายๆ คนผ่านระบบ Social Media จึงทำให้มีผู้สนใจสร้างบล็อกในหลาย ๆ วัตถุประสงค์และเผยแพร่สู่สาธารณะเป็นจำนวนมาก

การสมัครขอที่อยู่อีเมล์ของ GMAIL.COM





1. ในช่อง URL กรอกชื่อเว็บไซต์ของ GMAIL ลงไปดังรูปภาพที่ 1
รูปภาพที่ 1

2. คลิกเลือกปุ่ม Create An Account ดังรูปภาพที่ 2
รูปภาพที่ 2
3. จะปรากฏหน้าต่างให้กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร ดังภาพที่ 3










รูปภาพที่ 3

4. กรอกชื่อผู้ใช้ ระบุชื่อแรก และนามสกุล



รูปภาพที่ 4

5. กรอกชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้ โดยชื่อที่ใช้ต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่บัญชีสมาชิกที่มีอยู่แล้ว โดยสามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข สัญลักษณ์


รูปภาพที่ 5

6. กำหนดรหัสผ่าน โดยอย่างต่ำต้องมี 8 อักขระ สามารถใช้ตัวเลขและตัวอักษรร่วมกันได้ ซึ่งจะเพิ่มความยากในการคาดเดารหัสจากผู้ไม่หวังดีที่จะแอบเข้าอีเมล์ของผู้ใช้นี้ได้



รูปภาพที่ 6

7. คลิกเลือก เดือน กรอกวันที่ และกรอก ค.ศ. ที่ผู้สมัครเกิด



รูปภาพที่ 7
8. คลิกเลือกเพศของผู้สมัคร
Female = เพศหญิง
Mail = เพศชาย
Other = เพศอื่น ๆ



รูปภาพที่ 8

9. กรอกเบอร์โทรศัพท์ โดย +66ตามด้วยเบอร์มือถือ โดยตัดเลข 0 หน้าเบอร์มือถือออกแล้วกรอกเบอร์ที่เหลืออีก 9 ตัวต่อท้าย +66



รูปภาพที่ 9

10. กรอกที่อยู่อีเมล์ที่เคยมีแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีอีเมล์ก็ว่างไว้ไม่ต้องกรอก



รูปภาพที่ 10

11. พิมพ์ข้อความเพื่อตรวจสอบ โดยพิมพ์ข้อความที่ปรากฏในกรอบ ลงในช่องด้านล่างให้ตรงกัน







รูปภาพที่ 11

12. เลือกประเทศของผู้สมัคร โดยคลิกแล้วลากเมาส์ลากไปจนเจอประเทศไทยแล้วคลิกเลือก



รูปภาพที่ 12

13. คลิกเครื่องหมายถูกหน้าข้อตกลงทั้งสองข้อ ก่อนคลิกเลือกขั้นตอนต่อไป






รูปภาพที่ 13

14. จะปรากฏกรอบในส่วนของการจัดการข้อมูลส่วนตัวเพื่อแสดงให้กับสาธารณะเห็น โดยเลือกเข้าไปเพิ่มรูปภาพของผู้ใช้ได้







รูปภาพที่ 14

15. คลิกเลือกรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ หรือคลิกแถบเมนูด้านบนเลือก Web camera เพื่อถ่ายภาพใหม่หากเครื่องต่อกับกล้อง หรือได้ติดตั้งเว็บแคมไว้แล้วจะสามารถถ่ายภาพได้เลย








รูปภาพที่ 15

16. เมื่อผู้สมัครเลือกรูปภาพมาได้แล้วจะปรากฏดังรูปภาพที่ 16







รูปภาพที่ 16

17. เมื่อใส่ภาพใน Profile แล้วคลิกปุ่ม Next step เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป
18. ขณะนี้ผู้สมัครได้สมัครอีเมล์สำเร็จแล้วและพร้อมใช้งานได้ทันที




รูปภาพที่ 17

19. เมื่อผู้ใช้คลิกปุ่ม Continue to Gmail จะแสดงกล่องจดหมายเข้าจากทีมพัฒนา Gmail นั่นเอง






รูปภาพที่ 18

ขณะนี้ผู้สมัครมีบัญชีผู้ใช้แล้ว สามารถนำอีเมล์นี้เพื่อสมัครเป็นสมาชิกบล็อกในบทเรียนต่อไป